สร้างโอกาส และศักยภาพให้แก่เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนในระดับอาชีวศึกษา
เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการร่วมพัฒนาประเทศไทย

 

สำหรับเด็กนักเรียนที่ด้อยโอกาส และขาดแคลน การศึกษาในสายวิชาชีพ หรืออาชีวศึกษานั้น ถือว่าเป็นทางลัดทางการศึกษาที่สำคัญ ที่จะทำให้พวกเขาได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะวิชาชีพที่ถนัด และสนใจ เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว

นอกจากนี้แรงงานมีฝีมือในระดับอาชีวศึกษา ยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยเฉพาะสายวิชาชีพ เช่นช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรรมด้านต่างๆ

โดยจากการสำรวจความคิดเห็นจากเด็กนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่ามากกว่า 60 เปอร์เซนต์จะเลือกเรียนต่อสายอาชีพ หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น 

ดังนั้นโครงการส่งเสริมการศึกษาในระดับอาชีวะ จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพือส่งเสริมให้เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนในระดับอาชีวศึกษา ได้มีทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อจนจบอย่างน้อยระดับชั้นปวช.

นอกจากนี้ยังมุ่งส่งเสริม และสร้างศักยภาพให้แก่เด็กนักเรียนอาชีวะ ให้มีทักษะความรู้ และทักษะชีวิตที่เป็นประโยชน์ ต่อโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคต เช่นการส่งเสริมการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี เพื่อให้เด็กนักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการจริง และมีรายได้ในระหว่างเรียน หรือกิจกรรมเสริมสร้างศํกยภาพอื่นๆ ที่เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โครงการ “Skilling up Youth to Grow the ECC’s Growth Program”

ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิตี้ ธนาคารซิตี้แบงก์ประเทศไทย ในการดำเนินโครงการ “Skilling up Youth to Grow the ECC’s Growth Program” เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ การเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ การสร้างโอกาสการมีงานทำ หรือการเป็นผู้ประกอบการทำธุรกิจของตนเองในอนาคต สอดคล้องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor: ECC) ของภาครัฐ โดยมีนักเรียนนักศึกษาแกนนำระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากสถาบันการศึกษา 10 แห่ง จำนวน 100 คน และผู้แทนอาจารย์แต่ละสถาบันเข้าร่วมรวมทั้งหมด 3 ครั้ง ระยะเวลา 6 วัน ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคบางแสน วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยเทคนิคพัทยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) วิทยาลัยเทคนิคระยอง วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย วิทยาลัยการอาชีพแกลง และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด

โครงการส่งเสริมการศึกษาทวิภาคี

ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสตาร์บัคส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนอาชีวศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่ครอบครัวมีฐานะยากจน และต้องการเรียนควบคู่กับการทำงาน ได้มีโอกาสศึกษาต่อ และฝึกงานในสถานประกอบการจริง เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ พัฒนาตนเอง และสามารถมีรายได้ในระหว่างเรียน ผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาคี โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักศึกษาใน 14 วิทยาลัย จาก 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี ชลบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่น และภูเก็ต มีผู้ได้รับผลประโยชน์จำ นวนนักเรียน 7,878 คน (เฉลี่ยวิทยาลัยละ 550 คน)

โครงการสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กนักเรียนระดับชั้น ปวช. และ ปวส. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัทเอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) หนึ่งในผู้นำด้านซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานทั่วโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของการดำเนินงานในประเทศไทย มุ่งสานต่ออนาคตทางการศึกษา โดยการมอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จำนวน 100 คน ผ่านโครงการของมูลนิธิ EDF เพื่อสนับสนุนด้านการเงินและขยายโอกาสทางการศึกษา ให้เยาวชนทำตามเส้นทางความฝันจนสำเร็จการศึกษาระดับชั้นปวช. และปวส. ยกระดับทักษะปูทางสู่การประกอบอาชีพในอนาคตได้

โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการทำงาน
เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor)

ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) ร่วมกับธนาคารซิตี้แบงค์ (ประเทศไทย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา และเตรียมความพร้อมก่อนการทำงาน เช่น พัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นต้น เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยให้ความสำคัญกับนักศึกษาที่สนใจดำเนินธุรกิจที่วางแผนเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Startup) และได้ดำ เนินโครงการใน 10 วิทยาลัยในจังหวัดชลบุรี และระยอง มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน นักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 2,500 คน